กระตุ้นประสาท ทำก้าวร้าว นอนไม่หลับ
ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยทำลายยาเสพติดของกลาง น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 6,121 กิโลกรัม จาก 4,426 คดี รวมมูลค่า 9,369 ล้านบาท และยังมียาเสพติดของกลางที่รอการทำลายอีกจำนวนมาก ประกอบด้วย
เมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า จำนวน 2,737.75 กิโลกรัม หรือประมาณ 30 ล้านเม็ด
เฮโรอีน 228.32 กิโลกรัม
เอ็กซ์ตาซี่ หรือ ยาอี 10.48 กิโลกรัม หรือประมาณ 41,908 เม็ด
โคเคน 9.23 กิโลกรัม
เคตามีน หรือ ยาเค 3.11 กิโลกรัม ประมาณ 310 ขวด
โคเดอีน 105.59 กิโลกรัม (ประมาณ 81.2 ลิตร)
ฝิ่น 42.29 กิโลกรัม
และกัญชา/กระท่อม 3.014 กิโลกรัม
ยาไอซ์ จัดอยู่ในสารกลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ประเภทเดียวกันกับยาบ้า ยาม้า ยาไอซ์มีชื่อเรียกในชื่ออื่นว่าเกล็ดหิมะ หรือกร๊าซ เป็นยาเสพติดที่มีลักษณะเป็นผลึกใสเหมือนแก้ว มีขนาดใหญ่กว่าผงชูรสเล็กน้อย มีราคาแพงที่สุดในกลุ่ม CLUB DRUG หรือเป็นยาเสพติดที่มักใช้ในกลุ่มนักเที่ยว
เกิดจากกระบวนการผลิตโดยการสกัดให้มีความบริสุทธิ์สูงมากกว่ายาบ้า 10 เท่า กลไกการออกฤทธิ์ของยาไอซ์จะทำให้รู้สึกตื่นตัว บดบังความรู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกเคลิ้มฝัน อยู่นิ่งไม่ได้ นอนไม่หลับ ก้าวร้าว และรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองเกินไป
ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้ตื่นตัวอย่างรุนแรง และมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์นาน หากเสพมากจะยิ่งทำให้เกิดความฟุ้งซ่านมาก ผลจากการเสพยาเสพติดมากเกินขนาดจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็งตัว ตื่นตกใจกลัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจชักหรือหมดสติ ระบบหายใจล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิตได้
การเสพยาเสพติดแทบทุกชนิด รวมทั้งยาไอซ์จะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นอย่างแรง เซลล์สมองจะถูกทำลาย ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังการใช้ยานี้เอง และมีข้อสมมติฐานว่าสัมพันธ์กับอุบัติการฆ่าตัวตายในระหว่างการใช้ยา
นอกจากนี้การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดโรคจิต เช่นเดียวกับสารกระตุ้นประสาทตัวอื่นๆ ผู้เสพยาเกิดจากความหลงผิด เพราะในช่วงแรกยาจะออกฤทธิ์ทำให้เคลิบเคลิ้มเกิดความสุข เหมือนร่างกายกระตุ้นสารเอ็นโดฟินออกมา โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่น การออกกำลังกายตามปกติ แต่เป็นการกระตุ้นหลอกๆ
เมื่อเสพจนติดผลร้ายของการใช้ยาจะเริ่มแสดงออก นอกจากผลทางกายที่ทำให้อ่อนแอลงอย่างชัดเจนแล้ว ยังทำให้ซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย หรือเกิดอาการทางจิต ยาเสพติดจึงเป็นแค่ความสุขจอมปลอมเพียงชั่วระยะสั้นๆ จากนั้นผู้เสพจะตกนรกทั้งชีวิต
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น