วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง พบได้ประมาณ 10% ของประชากรทั่วโลก เป็นภาวะเรื้อรังที่พบได้บ่อยในคนไทยและสามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการง่ายๆ

อย่างไรจึงจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง

โดยปกติผู้ที่อายุไม่ถึง 40 ปี ความดันโลหิตไม่ควรเกิน 140/90 มม.ปรอท ค่าความดันตัวบนอาจจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จะทราบค่าความดันโลหิตตัวบนปกติของแต่ละอายุได้ โดยนำจำนวนอายุมาบวกกับ 100 โดยทั่วไปความดันตัวบนไม่ควรเกิน 160 มม.ปรอท และความดันตัวล่าง (ในผู้ใหญ่) ไม่อายุเท่าไหร่ก็ตามไม่ควรเกิน 90 มม.ปรอท


อาการสำคัญที่พบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง คือ

  • ปวดศีรษะ มึนงง โดยทั่วไปจะปวดบริเวณท้ายทอย และมักจะเป็นในตอนเช้า ถ้าความดันโลหิตสูงมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจะมีอาการคลื่นไส้ และตามัวร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย
  • เหนื่อยง่าย เนื่องจากหัวใจต้องทำงาน
  • เลือดกำเดาออก


จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีความดันโลหิตสูงแล้วไม่รักษาหรือรักษาและปฏิบัติตัวไม่สม่ำเสมอ

  1. สายตาเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว หรือตาบอด หลอดเลือดในตาอาจตีบตันหรือแตกมีการตกเลือดในตาหรือบวมในชั้นตาที่รับภาพ
  2. อาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบหรือแตก มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาจชักหรือไม่รู้สึกตัว และอาจเกิดอัมพาตถ้ารักษาไม่ทัน
  3. หัวใจล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานมากขึ้น จึงทำให้หัวใจโต เกิดอาการเหนื่อย หอบหายใจลำบาก โดยเฉพาะทางกลางคืน และภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อขาดเลือดจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
  4. ไตพิการ หรือไตอักเสบ เกิดอาการบวม


ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติหรือไม่


สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่มาก และได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกต่อเนื่อง และปฏิบัติตัวอย่างสม่ำเสมอโดยยังไม่มีภาวะหัวใจโต หรือกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น ไม่มีภาวะไตวาย และหลอดโลหิตยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักมีโอกาสจะมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติ แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้วควรได้รับดูแลการรักษาอย่างต่อโดยแพทย์เฉพาะทางมิเช่นนั้นแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวย่อมน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น